ขนมแป้งทอดมีรูตรงกลางชื่อเก๋ไก๋ว่าโดนัท มีประวัติความเป็นมายาวนาน นักโบราณคดีเคยขุดพบซากชิ้นส่วนฟอสซิล ที่มีลักษณะคล้ายขนมโดนัทจากกองขยะของชาวพื้นเมืองอเมริกาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นครั้งแรกที่เมืองแมนแฮตเตน หรือ นิวอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นเมืองอพยพของชาวดัตช์ที่มาตั้งรกรากในอเมริกา
ปัจจุบันคือเมืองนิวยอร์ก ซิตี้ มีชื่อภายใต้ภาษาดัตช์ว่า "โอลีคูกส์" หรือมาจาก ออยลี เคกส์ นั่นเอง
ในยุคต้นของการล่าอาณา นิคม ชาวดัตช์-อเมริกัน ที่อพยพมาได้ค้นพบวิธีการนำแป้งเค้กมาทอด โดยมีเรื่องเล่าเม้าธ์กันเลยเถิดว่า บังเอิญมีวัวตัวหนึ่งไปเตะหม้อน้ำมันเดือดๆ หกราดบนแป้งขนมอบที่ผสมแล้ว ทำให้เกิดขนมทอดสีทองชนิดใหม่ขึ้นมา
ประมาณปี 1847 เอลิซาเบธ เกรกอรี่ มารดาของกัปตันเรือนิวอิงแลนด์ นำส่วนผสมที่หลากหลายจากคาร์โกเรือของลูก เช่น ลูกจันทน์เทศ อบเชย และเปลือกมะนาว มาใส่ลงในแป้งทอด นำไปให้บุตรชายและลูกเรือเป็นเสบียงในการเดินทาง ในตอนนั้นเกรกอรี่นำถั่วฮาเซลนัทหรือวอลนัทมาวางตรงกลางของขนม และเรียกขนมนี้ว่า โดนัท อันเป็นที่มาของชื่อขนมในปัจจุบัน
ส่วนที่มาของรูบนขนมโดนัท มีเรื่องเล่าปากต่อปากกันมากมาย แต่จุดเริ่มต้นคือ แฮนสัน เกรกอรี่ บุตรชายของเอลิซาเบธ ที่น่าเชื่อถือสุดบอกว่าแฮนสันไม่ชอบขนมโดนัทของแม่ที่อมน้ำมันมากเกินไป ซึ่งตอนนั้นยังมีรูปทรงกลมอยู่ เขาก็เลยใช้ขวดพริกไทยบนเรือ เจาะรูตรงกลางของขนม และได้สอนเทคนิคนี้ให้แม่ อันเป็นที่มาของรูบนขนมโดนัทนั่นเอง เมื่อมีการจัดงานปาร์ตี้แฮนสันก็จะนำขนมโดนัทออกมาเลี้ยงแขก ได้รับคำชื่นชมเป็นอันมาก
โชคร้ายที่แฮนสันถูกจับเผาทั้งเป็นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแม่มด แต่ทุกวันนี้ยังมีแผ่นหินสลักยกย่อง แฮนสัน เกร กอรี่ ที่เมืองแคลมโคฟ มลรัฐเมน ในฐานะเป็นคนริเริ่มให้ขนมโดนัทมีรู
เครื่องผลิตโดนัทเครื่องแรกเกิดขึ้นในปี 1920 เมืองนิวยอร์ก ซิตี้ โดยนายอดอล์ฟ เลวิตต์ ผู้ลี้ภัยจากสมัยของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย เครื่องทำขนมโดนัทของเขาทำให้ขนมโดนัทเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ปี 1934 ในงานเวิลด์แฟร์ที่ชิคาโก โดนัทกลายเป็นขนมยอดฮิตในศตวรรษแห่งความก้าวหน้า มีการนำเครื่องทำขนมโดนัทอัตโนมัติมาจัดแสดง
ปัจจุบันมีสถิติยอดผลิตโดนัทเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา พบว่าแต่ละปีสูงถึงหมื่นล้านชิ้น
ปัจจุบันคือเมืองนิวยอร์ก ซิตี้ มีชื่อภายใต้ภาษาดัตช์ว่า "โอลีคูกส์" หรือมาจาก ออยลี เคกส์ นั่นเอง
ในยุคต้นของการล่าอาณา นิคม ชาวดัตช์-อเมริกัน ที่อพยพมาได้ค้นพบวิธีการนำแป้งเค้กมาทอด โดยมีเรื่องเล่าเม้าธ์กันเลยเถิดว่า บังเอิญมีวัวตัวหนึ่งไปเตะหม้อน้ำมันเดือดๆ หกราดบนแป้งขนมอบที่ผสมแล้ว ทำให้เกิดขนมทอดสีทองชนิดใหม่ขึ้นมา
ประมาณปี 1847 เอลิซาเบธ เกรกอรี่ มารดาของกัปตันเรือนิวอิงแลนด์ นำส่วนผสมที่หลากหลายจากคาร์โกเรือของลูก เช่น ลูกจันทน์เทศ อบเชย และเปลือกมะนาว มาใส่ลงในแป้งทอด นำไปให้บุตรชายและลูกเรือเป็นเสบียงในการเดินทาง ในตอนนั้นเกรกอรี่นำถั่วฮาเซลนัทหรือวอลนัทมาวางตรงกลางของขนม และเรียกขนมนี้ว่า โดนัท อันเป็นที่มาของชื่อขนมในปัจจุบัน
ส่วนที่มาของรูบนขนมโดนัท มีเรื่องเล่าปากต่อปากกันมากมาย แต่จุดเริ่มต้นคือ แฮนสัน เกรกอรี่ บุตรชายของเอลิซาเบธ ที่น่าเชื่อถือสุดบอกว่าแฮนสันไม่ชอบขนมโดนัทของแม่ที่อมน้ำมันมากเกินไป ซึ่งตอนนั้นยังมีรูปทรงกลมอยู่ เขาก็เลยใช้ขวดพริกไทยบนเรือ เจาะรูตรงกลางของขนม และได้สอนเทคนิคนี้ให้แม่ อันเป็นที่มาของรูบนขนมโดนัทนั่นเอง เมื่อมีการจัดงานปาร์ตี้แฮนสันก็จะนำขนมโดนัทออกมาเลี้ยงแขก ได้รับคำชื่นชมเป็นอันมาก
โชคร้ายที่แฮนสันถูกจับเผาทั้งเป็นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแม่มด แต่ทุกวันนี้ยังมีแผ่นหินสลักยกย่อง แฮนสัน เกร กอรี่ ที่เมืองแคลมโคฟ มลรัฐเมน ในฐานะเป็นคนริเริ่มให้ขนมโดนัทมีรู
เครื่องผลิตโดนัทเครื่องแรกเกิดขึ้นในปี 1920 เมืองนิวยอร์ก ซิตี้ โดยนายอดอล์ฟ เลวิตต์ ผู้ลี้ภัยจากสมัยของพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย เครื่องทำขนมโดนัทของเขาทำให้ขนมโดนัทเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ปี 1934 ในงานเวิลด์แฟร์ที่ชิคาโก โดนัทกลายเป็นขนมยอดฮิตในศตวรรษแห่งความก้าวหน้า มีการนำเครื่องทำขนมโดนัทอัตโนมัติมาจัดแสดง
ปัจจุบันมีสถิติยอดผลิตโดนัทเฉพาะที่สหรัฐอเมริกา พบว่าแต่ละปีสูงถึงหมื่นล้านชิ้น